การดื้อต่อยาปฏิชีวนะ


นับตั้งแต่ยาปฏิชีวนะตัวแรกของโลกที่ชื่อเพนิซิลลินถือกำเนิดเมื่อเกือบ 90 ปีก่อน คนทั่วโลกก็ได้รับประโยชน์มากมายและใช้จนกลายเป็นความคุ้นเคย

ในปี 2488 เชอร์อะเล็กซานเดอร์ เฟลมิง ได้รับรางวัลโนเบลก็เกิดปรากฏการณ์ดื้อยาปฏิชีวนะขึ้นแล้ว เขาบรรยายในโอกาสได้รับรางวัลโนเบลว่า ไม่ใช่เรื่องยากที่จะทำให้แบคทีเรียดื้อยาเพนิซิลลิน โดยเพิ่มปริมาณยาให้เข้มข้นขึ้นแต่ไม่มากพอที่จะฆ่ามัน สิ่งนี้จะเกิดขึ้นในร่างกายมนุษย์เป็นครั้งคราว... เมื่อช่วงเวลานั้นใครๆ ก็ซื้อหายาเพนิซิลลินได้ในร้านค้าทั่วไป...อันตรายอยู่ที่ว่า มนุษย์ผู้ไม่รู้จะกินยาเกินขนาดอย่างง่ายดาย แะเปิดตัวเองให้เชื้อโรคด้วยการกินยาในระดับที่ไม่ถึงขั้นพิฆาตมัน ซึ่งจะทำให้มันดื้อยา

ผู้เชี่ยวชาญแจ้งในอีก 10-20 ปีข้างหน้าว่าการผ่าตัดธรรมดาอย่างผ่าตัดไส้ติ่ง หรือเปลี่ยนข้อสะโพกก้อาจถึงตายได้ ไม่ต้องพูดถึงการผ่าตัดที่ซับซ้อนเช่นเพื่อรักษามะเร็ง ซึ่งเท่ากับเราย้อนกลับไปสู่ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ที่ยังไม่มียาปฏิชีวนะใช้

สธ.เผยเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะสูงขึ้นต่อเนื่องและทวีความรุนแรง จากการใช้ยาเกินความจำเป็น หรือคิดว่าหายจากโรคจึงหยุดกินยา ทำคนไทยเสียชีวิตปีละ 3 หมื่นกว่าราย มูลค่าเสียหายทางเศรษฐกิจกว่า 6 พันล้านบาท รณรงค์ประชาชนใช้ยาอย่างถูกต้อง

ปัจจุบันปัญหาการดื้อยาของเชื้อจุลชีพที่ทำให้เกิดโรคมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ สาเหตุมาจากการใช้ยาปฏิชีวนะที่มากขึ้น ทั้งการใช้อย่างไม่จำเป็นและเกินความจำเป็น โดยมูลค่าการใช้ยาปฏิชีวนะของคนไทยมากกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี และมีการติดเชื้อชนิดที่ดื้อยาปฏิชีวนะปีละกว่า 100,000 คน ทำให้ยาปฏิชีวนะตัวเก่าที่เคยใช้ไม่ได้ผลเท่าที่ควร

ผู้ป่วยบางรายต้องเปลี่ยนใช้ยาตัวใหม่ซึ่งมีราคาแพงมาก เชื้อดื้อยาบางชนิดไม่มียารักษาที่มีประสิทธิผลดีและปลอดภัย ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษาเพิ่มขึ้น ใช้เวลารักษานานขึ้นและโอกาสเสียชีวิตสูง ผลเสียต่อไปหากเชื้อชนิดนี้แพร่ไปสู่ผู้ป่วยรายอื่น และเกิดการระบาดในชุมชน จะมีผลทำให้โรคติดต่อที่เคยควบคุมได้กลับมาระบาดมากขึ้น และเชื้อดื้อยายังสามารถถ่ายทอดรหัสพันธุกรรมดื้อยาไปสู่เชื้อสายพันธุ์อื่น ทำให้ปัญหาการดื้อยาทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ จากการศึกษาผลกระทบจากการติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในไทย โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ได้ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาลทุกระดับ และข้อมูลการติดเชื้อในโรงพยาบาลทุกระดับทั่วประเทศจำนวน 1,023 แห่ง ในปี 2553 พบว่าเชื้อจุลชีพ 5 ชนิดที่พบบ่อยในโรงพยาบาล และมักดื้อยาปฏิชีวนะหลายขนาน ได้แก่
1.เอสเชอริเชีย โคไลหรืออี.โคไล (Escherichia coli) ที่ทำให้เกิดโรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะและทางเดินอาหาร
2.เคลบซีลลา นิวโมเนอี (Klebsiella pneumoniae) ทำให้เกิดโรคระบบทางเดินหายใจ โรคปอดอักเสบ 3.เชื้ออะซีนีโตแบคเตอร์ บอแมนนิอาย (Acinetobactor baumannii) เป็นโรคติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ เช่น โรคปอดบวม
4.ซูโดโมแนส แอรูจิโนซา (Pseudomonas aeruginosa) ทำให้เกิดโรคติดเชื้อหลายระบบของร่างกาย เช่น โรคปอดบวม ติดเชื้อในกระแสเลือด และ
5.สแตปฟิโลคอคคัส ออเรียส (Staphylococcus aureus) ที่ดื้อต่อยาเมทิซิลิน ทำให้ผู้ป่วยต้องนอนโรงพยาบาลนานขึ้นประมาณ 3.24 ล้านวัน เสียชีวิต 38,481 ราย ซึ่งสูงกว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดในปี 2552 ที่มีจำนวน 34,383 ราย และมากเป็นอันดับ 2 รองจากโรคหลอดเลือดสมองที่มีจำนวน 50,829 ราย

อย่างไรก็ตาม ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีนโยบายให้โรงพยาบาลทุกแห่งใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผล โดยให้โรงพยาบาลทุกแห่งจัดซื้อยาต้านจุลชีพที่มีคุณสมบัติเหมาะสม และมีจำนวนชนิดของยาเท่าที่จำเป็นไว้ใช้สำหรับบำบัดรักษาผู้ป่วย มีระบบกำกับดูแลและสนับสนุนให้เกิดการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผล ดำเนินการเฝ้าระวังและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลอย่างเข้มข้นและมีประสิทธิภาพ พัฒนาศักยภาพของการตรวจทางห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา และระบบเฝ้าระวังความไว ของเชื้อต่อยาต้านจุลชีพให้ได้มาตรฐาน โดยได้จัดตั้งศูนย์เฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพ ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่พ.ศ. 2541 ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก เพื่อรวบรวมวิเคราะห์ความชุกของเชื้อแบคทีเรียและสถานการณ์การดื้อยาระดับประเทศ

นอกจากนี้ ได้ให้ทุกจังหวัดเร่งรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนในเรื่องการใช้ยาปฏิชีวนะที่ถูกต้อง โดยประชาชนที่ได้รับยาปฏิชีวนะจากสถานพยาบาลจะต้องกินยาให้ครบสูตรตามที่แพทย์สั่ง ปัญหาที่พบบ่อยที่สุดของผู้ป่วยก็คือ พอกินยาไป 2-3 วัน อาการดีขึ้น คิดว่าหายขาดแล้ว และหยุดกินยา และอีกประการหนึ่ง การเจ็บป่วยบางโรคก็ไม่จำเป็นต้องพึ่งยาปฏิชีวนะ เช่นไข้หวัดทั่วๆ ไป ซึ่งเป็นโรคทางเดินหายใจที่ป่วยกันมากที่สุด เกิดจากการติดเชื้อไวรัสไม่มียารักษาเฉพาะ ต้องอาศัยการพักผ่อน อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเอง แต่คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าเกิดจากการติดเชื้อจึงไปซื้อยาปฏิชีวนะมากิน และเมื่ออาการดีขึ้น จึงคิดว่ายาชนิดนี้รักษาหายซึ่งเป็นความเข้าใจผิด

ความล้มเหลวของการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะนั้น อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่
1. เลือกยาผิดชนิด คือยาไม่มีฤทธิ์ที่ครอบคลุมเชื้อที่ก่อโรค
2.ใช้ยาผิดขนาด คือขนาดหรือปริมาณยาที่ได้รับ ไม่เหมาะสมที่จะทำลายเชื้อก่อโรคได้
3.ใช้ยาปฏิชีวนะไม่นานพอที่จะทำลายเชื้อก่อโรค
4.ใช้ผิดวิธี เช่น การกินไม่ถูกวิธี โดยยาบางชนิดต้องกินก่อนอาหาร ในขณะที่บางชนิดต้องกินหลังอาหาร ยาบางชนิดห้ามกินร่วมกับนม เป็นต้น ทำให้ปริมาณยาปฏิชีวนะที่ได้รับจริง ไม่เพียงพอที่จะกำจัดเชื้อแบคทีเรีย
5.เชื้อที่ก่อโรคเป็นเชื้อที่ดื้อยา

ปัจจัยสนับสนุนที่ทำให้มีการใช้ยาปฏิชีวนะจำนวนมากในการเลี้ยงสัตว์เนื่องจากผลประโยชน์ทางการค้า อุทาหรณ์เรื่องสัตว์กับยาปฏิชีวนะที่เกิดขึ้นในประเทศจีน และกลายเป็นประเด็นใหญ่ในสื่อระดับโลก คือกรณีชาวจีนประท้วงหยุดกินไก่ทอกเคเอฟซี เนื่องากมีรายงานว่าใช้เนื้อไก่ที่มีการสะสมยาปฏิชีวนะเกินมาตราฐาน ซึ่งทางบริษัทรู้ปัญหานี้มาก่อนถึง 2 ปีโดยมีการทดสอบเนื่้อไก่ในห้องปฏิบัติการแต่อุบเงียบจนกลายเป็นเรื่องใหญ่ ที่ส่งผลกระทบต่อยอดขายและภาพลักษณ์ของบริษัท

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น