ธุรกิจของที่ระลึก ของชำร่วย และของพรีเมี่ยม


ตลาดของที่ระลึก ของชำร่วย และของพรีเมี่ยมในประเทศไทย นับว่าเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ และยังมีโอกาสในการขยายตลาดค่อนข้างสูง โดยมีมูลค่าตลาดประมาณ 10,000 ล้านบาท หรือขยายตัวร้อยละ 10-15

ซึ่งการขยายตัวของตลาดได้รับแรงกระตุ้นจากความต้องการของกลุ่มลูกค้าที่เพิ่มขึ้น ตามวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ประโยชน์ ที่มีความหลากหลาย เช่น การมอบให้เพื่อเป็นของที่ระลึกในช่วงโอกาสต่างๆ และการใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาด ทั้งนี้ ตลาดของที่ระลึก ของชำร่วย และของพรีเมี่ยม สามารถจำแนกตามประโยชน์ในการนำสินค้าไปใช้งาน และกลุ่มลูกค้าได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ ดังนี้

ของที่ระลึก ของชำร่วย ของพรีเมี่ยม
การนำไปใช้ประโยชน์ ใช้เป็นสิ่งของที่เก็บสะสมไว้ หรือใช้เป็นที่ระลึกเพื่อเตือนความทรงจำเกี่ยวกับเรื่องราว และ
เหตุการณ์ต่างๆ
ใช้เป็นเครื่องมือทางการตลาดของธุรกิจต่างๆ
เพื่อกระตุ้นให้ผู้รับระลึกถึง และจดจำ ตรา
สินค้า/ยี่ห้อสินค้าของบริษัท
กลุ่มลูกค้า กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ร้านค้าจำ หน่ายของที่ระลึก/ของชำร่วย ห้างสรรพสินค้า และแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ
กลุ่มลูกค้าบุคคล ต้องการของที่ระลึก/ของชำร่วยเพื่อมอบให้ในงานสำคัญ เช่น งานแต่งงาน ทำบุญบ้าน งานศพ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มผู้เก็บสะสมของที่ระลึกต่างๆ
กลุ่มลูกค้าธุรกิจ ที่ต้องการสินค้าของพรีเมี่ยม เพื่อมอบให้ลูกค้าในช่วงโอกาสสำคัญต่างๆ เช่น วันปีใหม่ การเปิดตัวสินค้า/ผลิตภัณฑ์ใหม่ สมนาคุณแก่ลูกค้าคนพิเศษ ฯลฯ

การประกอบธุรกิจของที่ระลึก ของชำร่วย และของพรีเมี่ยม มีทั้งผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตสินค้า และผู้จัดจำหน่ายสินค้า ขั้นตอนการบริหารจัดการของธุรกิจโดยรวม ไม่ซับซ้อนและง่ายต่อการดำเนินงาน รวมทั้งเงินลงทุนที่ใช้ในการเริ่มธุรกิจไม่สูงมาก จึงนับได้ว่าเป็นหนึ่งในธุรกิจที่เหมาะสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ต้องการเริ่มกิจการธุรกิจของตนเอง โดยธุรกิจของที่ระลึก ของชำร่วย และของพรีเมี่ยม จะมีรูปแบบในการประกอบกิจการที่แตกต่างกัน 2 ส่วนหลักๆ
  1. ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ผลิตสินค้าเอง โดยส่วนใหญ่สินค้าที่ผลิตได้จะเป็นสินค้าประเภทเดียวกัน เนื่องจากข้อจำกัดในการใช้เครื่องจักรและวัตถุดิบในการผลิตอย่างเดียวกัน ความแตกต่างของสินค้าจะขึ้นอยู่กับการออกแบบ รูปร่าง สีและลวดลายของสินค้า ทั้งนี้ ภายใต้การดำเนินงานของผู้ประกอบการอาจจะทำการออกแบบสินค้าเอง
  2. ผู้ประกอบการที่เป็นผู้จัดจำหน่าย เป็นกลุ่มที่มีสัดส่วนค่อนข้างมาก โดยเฉพาะกลุ่มผู้จัดจำหน่ายของชำร่วย และของพรีเมี่ยม ผู้จัดจำหน่ายจะเป็นตัวกลางระหว่างผู้ผลิตสินค้าและลูกค้า และทำหน้าที่รวบรวมและคัดเลือกสินค้าที่หลากหลายชนิด ทั้งจากในประเทศและสินค้านำเข้าให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมทั้งการออกแบบและการจัดวางโลโก้/ชื่อของบริษัท หรือชื่อลูกค้าที่สั่งซื้อสินค้า โดยการจำหน่ายส่วนใหญ่จะเป็นการจำหน่ายให้กับลูกค้าบริษัทและลูกค้าบุคคล ซึ่งเป็นผู้ที่ใช้งานโดยตรง
ธุรกิจของที่ระลึก/ของชำร่วย และของพรีเมี่ยมเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีโอกาสขยายตลาดได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งขั้นตอนการประกอบธุรกิจไม่ซับซ้อน และใช้เงินลงทุนไม่สูงมากในการเข้าประกอบกิจการ จึงดึงดูดให้

ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสนใจเข้ามาลงทุนในธุรกิจนี้จำนวนมาก ในขณะเดียวกัน การที่มีผู้ประกอบการเข้าสู่ธุรกิจจำนวนมากก็ทำให้ภาวะการแข่งขันในตลาดมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นเช่นกัน ดังนั้น ผู้ประกอบการที่สนใจจะเข้ามาประกอบกิจการในธุรกิจนี้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเตรียมการรับมือกับการแข่งขันในตลาด

โดยแนวทางการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องในระยะยาว ผู้ประกอบการจำเป็นต้องกำหนดรูปแบบการดำเนินธุรกิจ และช่องทางการจัดจำหน่ายให้สอดคล้องเงินลงทุน และความสามารถในการประกอบธุรกิจของผู้ประกอบการ ตลอดจน ควรให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการในด้านการส่งมอบสินค้า สินค้าคงคลังและซัพพลายเชนต่างๆ เพื่อเป็นการสร้างมาตรฐานการให้บริการ และสร้างความไว้วางใช้ให้แก่ลูกค้า นอกจากนี้ กลยุทธ์ทางด้านการบริการนับว่าเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญอีกด้านที่จะช่วยขยายฐานลูกค้า และดึงดูดกลุ่มลูกค้าเดิมไว้ได้ โดยผู้ประกอบการควรที่จะพัฒนาบุคลากรทางการขาย ปลูกฝั่งจิตสำนักทางด้านการบริการ เพิ่มการให้บริการที่จะสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า รวมทั้ง การรักษาระดับมาตรฐานการผลิตและการให้บริการแก่ลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการดำเนินงานของธุรกิจต่อกลุ่มลูกค้า

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น