บ้านไทยสี่ภาค

บ้านไทยสี่ภาค เป็นการ จำลองบ้านไทยตามลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่เด่นชัดจาก ๔ ภาคในประเทศไทย ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอิสาน และภาคใต้ ภายในบ้านแต่ละหลังจำลองวิถีชีวิตความเป็น อยู่ของคนไทยในแต่ละภาค ที่สอดคล้อง กับสภาพสังคมวัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม
บ้านไทยภาคเหนือ
ลักษณะภูมิอากาศทางภาคเหนือค่อน ข้างหนาวเย็น พื้นที่ส่วนใหญ่โอบล้อมไปด้วยหุบเขา ทำให้บ้านเรือนไทยภาคเหนือ ถูกออกแบบ ให้มีลักษณะมิดชิดเพื่อกันลมหนาว ผสมผสานกับ ความเชื่อ และวัฒนธรรมในท้องถิ่นเป็นตัวกำหนด ทำให้เกิดเป็นโครงสร้างสถาปัตยกรรม แบบง่าย ๆ ใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เป็นสถาปัตยกรรมท้องถิ่นหรือพื้นบ้าน ตามแบบ วัฒนธรรมล้านนา

ลักษณะทั่วไปของเรือน ทางภาคเหนือ นิยมสร้างเป็นเรือนแฝด เรียกว่า เรือนสอง หลังร่วมพื้น เป็นเรือนทึบ เนื่องจากฤดูหนาวทางภาคเหนือจะหนาวมาก ทำให้มีลักษณะเฉพาะทางรูปทรง หลังคาและสัดส่วนของเรือนเตี้ยกว่าเรือนไทยภาคอื่นๆ ฝาเรือนลาดเอียง โดยให้ตอนบนเอียง ออกด้านนอกมีหน้าต่างน้อย เจาะช่องหน้าต่างแคบๆ ช่วยป้องกันลมหนาว จากภายนอก และ รักษาความอบอุ่น

ภายในตัวบ้าน มี “เติ๋น” หรือระเบียงอยู่บริเวณหน้า เป็นส่วนที่อยู่ใต้ ชายคา มีเนื้อที่ ๒ เสา ใช้เป็นบริเวณอเนกประสงค์ นั่งเล่น หรือรับประทานอาหารจั่ว ด้านหน้าเรือน มีหิ้งพระพุทธรูป และมี “หำยนต์” ติดตั้งเหนือประตู เข้าห้องนอนรวม เป็นความเชื่อว่าสามารถป้องกันภัย อันตรายต่างๆ ไม่ให้เข้ามาในห้องนอน มีหิ้งผีปู่ย่า คือ ผีบรรพบุรุษ แต่บางแห่งก็ตั้งเป็นศาล เล็กๆ ไว้ในบริเวณ บ้าน นอกชานมีร้านน้ำสำหรับตั้งหม้อน้ำดื่ม บนยอดจั่ว หลังคามีป้านลมไขว้กันอยู่บนเรียกว่า “กาแล” ใต้ถุนยก สูงพอสำหรับเก็บ เครื่องใช้ในการเกษตร ตั้งหูกทอผ้า หรือยกเป็นร้านเตี้ยๆ ใช้นั่งรับแขก หรือนั่งเล่น และมี นอกชานตั้งอยู่ทางด้านจั่วตอนหน้าและตอนหลังของเรือนวิถีชีวิตของชาวเหนือ วัฒนธรรมท้องถิ่นเรียกว่า วัฒนธรรม “คนเมือง “ หรือ “คนล้านนา” ตามชื่อ ของอาณาจักรที่มีการปกครองแบบนครรัฐ ดำรงชีวิต แบบเกษตรกร ในสังคมมีการนับถือสิ่งศักดิ์สิทธิ์และ วิญญาณของ บรรพบุรุษที่เรียกว่า “ผี” วิถีการดำเนิน ชีวิตเรียบง่าย เช่น ฝ่ายชายจะ นุ่งผ้าต้อย (แบบโจง กระเบน) หรือกางเกงขาก๊วย ใส่เสื้อคอกลมย้อมสี ครามเรียกว่า “เสื้อม่อฮ่อม” และกางเกงเป้ายาวทรง หลวมที่เรียกกันว่า “เตี่ยวสะตอ” ฝ่ายหญิงจะนุ่งผ้าซิ่น ลาย สวมเสื้อคอกลมแขนยาว

อาหารของ ชาวภาคเหนือ นั้นนิยมรับประทานข้าวนึ่ง หรือข้าวเหนียวและลาบ เป็นหลัก อาหารหรือกับข้าวจะใส่ถ้วยขนาดเล็กวางบน ภาชนะที่เรียกว่า “ขันโตก” เป็นถาดที่มีขนาดพอดีกับ การรับประทานบนพื้นเติ๋น ชาวเหนือมีภาษาพูดที่มีความ ไพเราะอ่อนหวาน แสดงถึงความสุภาพ อ่อนโยนในจิตใจ ความโอบอ้อมอารี และความเป็นมิตร ยามว่างจะทำ หัตถกรรมจักรสานและนำมาทำเป็นข้าวของเครื่องใช้ ในครัวเรือน การแสดง และการละเล่นมักจะแสดงออก ถึงความรู้สึกนึกคิด โดยผ่านภาษาวรรณกรรม ดนตรี และงานฝีมือที่ได้สั่งสมความรู้
บ้านไทยภาคกลาง
ชุมชนบ้านเรือนในแถบภาคกลาง เป็นสังคม เกษตรกรรม แถบพื้นที่บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำ ซึ่งมีแม่น้ำสายหลักๆ อย่าง แม่น้ำเจ้าพระยาแม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก และแม่น้ำสายอื่นๆ อีกมากมาย ชาวบ้านในภาคกลางจึงผูกพัน และใช้ประโยชน์ต่าง ๆจากแม่น้ำ

เนื่องจากภาคกลางมีภูมิอากาศที่ร้อนอบอ้าว เกือบจะตลอดทั้งปี คนจึงนิยมปลูกบ้านริมน้ำ ตัวบ้านสร้างขึ้นด้วยไม้เป็นเรือนชั้นเดียวแบบ เรียบง่าย มีการออกแบบให้ป้องกันความอบ อ้าวของอากาศ ฝน และแสงแดดจ้า โดย หลังคาจะมีลักษณะเป็นทรงสูง เพื่อให้ความ ร้อนจากหลังคาถ่ายเทความร้อนสู่ห้องได้ช้า และทำให้น้ำฝนไหลลงจากหลังคาได้รวดเร็ว ไม่มีน้ำขัง วัสดุมุงหลังคามักใช้วัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น หญ้าคา จากแฝก ตองตึง ไม้ที่ตัดเป็น แผ่น เล็กๆ ที่นิยมกันมากคือกระเบื้องดินเผา ซึ่งเป็นหัตถกรรมพื้นบ้านขนาดของเรือน ขึ้นอยู่ กับฐานะทางเศรษฐกิจของผู้อาศัย ห้องนอน น้อยห้อง ไม่นิยมนอนเตียง เรือนมีใต้ถุนสูง และนิยมปลูกบ้านหันหน้า หรือหันด้านแคบของ บ้านไปทางทิศตะวัน ออกเพื่อรับแดด ในขณะ ที่ด้านยาวก็จะได้รับลม และถ่ายเทอากาศ มีการวางแปลนบ้านเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วน ชายคาบ้านมี ลักษณะยื่นยาวออกไป เรียกว่า“ไขรา หรือ กันสาด” ช่วยป้องกันความร้อนและแสง แดดกล้า

โดยเฉพาะแดดเช้าและบ่ายในยาม ที่ดวง ตะวันอ้อมในฤดูหนาว ไม่ให้เผาฝาผนังของบ้านจน ร้อนเกินไป ตัวฝาผนังของบ้านเป็นกรอบที่เรียกว่า “ฝาลูกฟัก” หรือเรียกว่า “ฝาปะกน” สามารถยก ถอดประกอบกันได้ เป็นลักษณะเฉพาะของเรือนไทย ภาคกลาง ในส่วนของระเบียง มักสร้างขนานไปตามความยาว ของเรือน มีชานเรือนยาวต่อไปจนถึงตัวเรือนและ ห้องน้ำ บริเวณใต้ถุนบ้านนั้นจะยกสูงเพื่อ ป้องกัน น้ำท่วมในฤดูน้ำหลากและยังช่วยป้องกันสัตว์ร้ายอีก ด้วย นอกจากนี้ใต้ถุนยังสามารถใช้เก็บข้าวของหรือ เลี้ยงสัตว์ ได้อีกด้วย หากมีการขยับขยายครอบครัว ก็จะมีการสร้างเรือนในบริเวณให้มากขึ้นและเชื่อมต่อ กันด้วยชานบ้าน บ้านไทย นิยมแยก “เรือนครัว หรือ ครัว” ไว้อีกส่วนหนึ่ง กันเขม่าไฟ ควันจากเถ้าถ่าน เพราะสมัยก่อนใช้ไม้มาเป็นเชื้อเพลิงเพื่อ หุงหาอาหาร

วิถีชีวิตของชาวภาคกลางนั้นจะผูกพันอยู่กับสายน้ำ เป็นหลัก ใช้เรือเป็นพาหนะในการไปมาหาสู่ จับจ่าย ซื้อของ ระหว่างกัน เป็นสังคมเกษตรกรรม รับประทาน ข้าวเจ้าเป็นอาหารหลัก การประกอบอาหารของชาว ภาคกลางนั้น ใช้วัตถุดิบที่สามารถหาได้ง่าย เช่นผัก บุ้ง ผักกะเฉด ที่ผลิตได้เองในแต่ละครัวเรือน รับ ประทานน้ำพริก ผักต้ม หรือผักสด ประกอบอาหาร ทุกมื้อ ส่วนการแต่งกาย นิยมแต่งกายแบบเรียบง่าย สวมใส่กางเกง ขาก๊วย เสื้อคอกลม มีผ้าขาวม้าไว้พาด บ่า คาดเอว หรือไว้ใช้อเนกประสงค์ ฝ่ายหญิง จะนุ่ง ผ้าถุงหรือโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม แขนยาวหรือ เสื้อเชิ้ต หากมีงานออกสังคม ส่วนใหญ่ไปทำบุญที่วัด ตามคตินิยม ลักษณะ ของครอบครัวอยู่รวมกันเป็น ครอบครัวใหญ่ นิยมปลูกเรือนเพิ่มให้กับสมาชิก ครอบครัว ในพื้นที่รอบรั้วเดียวกัน
บ้านไทยภาคอีสาน
การตั้งบ้านเมืองในภูมิภาคอีสานตั้งแต่สมัยโบราณ มักเลือกทำเลที่ตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่มอันมีแม่น้ำสำคัญๆ เช่น น้ำโขง น้ำมูลน้ำชี น้ำพอง เป็นต้น นอกจากนี้ก็อาศัย ตามริมหนองบึง ถ้าพื้นที่ใดเป็นที่ราบน้ำท่วมถึง ก็ขยับ ขยายไปอยู่ บนโคก เนิน เป็นส่วนใหญ่

การตั้งหมู่บ้าน เรือนจะ กระจุก รวมตัวกัน ต่างจากทางภาคกลาง ชาวอีสาน มีความเชื่อในการสร้างเรือนให้ด้านกว้างหัน ไปทาง ทิศตะวันออกและตะวันตก ให้ด้านยาวหันไปทาง ทิศเหนือและใต้ ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่าวางเรือนแบบ “ล่องตาเว็น” เชื่อว่าหากสร้างเรือน “ขวางตาเว็น” และจะ “ขะลำ” คือเป็นอัปมงคล ทำให้ผู้อยู่ไม่มีความสุข

รูปแบบของเรือนไทยภาคอีสาน เสายกพื้นค่อนข้างสูง ทำให้มีพื้นที่ใต้ถุนสูง ใช้เป็นที่ ประกอบหัตถกรรมครัว เรือน ทอผ้า ใช้เก็บไห หมักปลาร้า เป็นคอกเลี้ยงสัตว์ เก็บอุปกรณ์ทำไร่ทำนา ไปจนถึงจอดเกวียนหรือล้อก็ได้ ถือว่าเป็น บริเวณ ที่มีการใช้สอยมากที่สุด มักทำยุ้งข้าว ไว้ใกล้ๆ เรือน หลังคาใช้วัสดุในท้องถิ่นคือมุงด้วยหญ้าหรือสังกะสี ฝาเรือนมักใช้ฝาแถบตอง โดยใช้ใบกุงหรือใบชาดมา ประกบด้วยไม้ไผ่สานโปร่งเป็นตาตาราง หรือทำเป็น ฝาไม้ไผ่สาน มีส่วนที่เรียกว่า “เกย” (ชานโล่งมี
หลังคา คลุม) เป็นพื้นที่ลดระดับลงมาจาก เรือนนอน ใหญ่ มักใช้ เป็นที่รับแขก

ที่รับประทานอาหาร ส่วนของใต้ถุนจะ เตี้ยกว่าปกติ ใช้เป็นที่เก็บฟืน “ชานแดด” เป็นบริเวณ นอกชานเชื่อมระหว่างเกย เรือนแฝด กับเรือนไฟ มี บันไดขึ้นด้านหน้าเรือน มี “ฮ้างแอ่งน้ำ” เป็นที่วางหม้อดิน ใส่น้ำดื่มอยู่ตรงขอบ ของชานแดด บริเวณรอบๆเรือนอีสานไม่นิยมทำรั้วเพราะเป็นสังคมเครือญาติ วัฒนธรรมไทยอีสานที่สืบทอดกันมา จนถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่ ได้รับอิทธิพลมาจากกลุ่มชนในสายวัฒนธรรมไต-ลาว ซึ่งตั้ง ถิ่นฐานกระจัดกระจายอยู่ตาม แนวลำน้ำโขงฝั่งขวาที่อพยพ ถ่ายเทครัวเรือนมาสู่ฝั่งซ้าย คือภาคอีสานของไทย และเพื่อ ให้ชีวิตความเป็นอยู่สอดคล้อง กับสิ่งแวดล้อมใหม่ จึงได้มีการ พัฒนาการทางสังคม การเมือง วัฒนธรรม ตลอดจนความ เชื่อและศาสนาขึ้นใหม่จนเกิดเป็น “วัฒนธรรมไทยอีสาน”

ชาวภาคอีสานดำเนินชีวิตประจำวัน แบบพึ่งตนเอง ฝ่ายชาย ชาวภาค อีสานมักนิยมนุ่งโสร่งหรือกางเกงขาก๊วย ใส่เสื้อ คอกลม ใช้ผ้าขาวม้าคาดเอว ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งผ้าซิ่น ใส่เสื้อ คอกลมแขนยาว ถือว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำ ภาคโดยเฉพาะ ในอดีตผู้หญิงชาวบ้านทุกคนต้องทอผ้าที่ผลิตเองใช้เองโดย เฉพาะซิ่น

แต่ละครอบครัวจะผลิตหลายอย่าง เช่น ทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ทอผ้า เครื่องจักสานและหาอาหาร ผล ตอบแทนที่ได้จากการผลิต คือ ข้าว อาหาร เสื้อผ้า เครื่อง นุ่งห่มและเครื่องใช้ ซึ่งเพียงพอสำหรับทุกคน ในครอบครัว การประกอบอาหารจึงใช้วัตถุดิบที่หาได้จากท้องถิ่น อย่าง เห็ด หน่อไม้หรือผักหวานจากป่า กุ้ง ปู ปลา จากแม่น้ำ หรือ เป็ด ไก่ จากการเลี้ยง ไว้ใต้ถุนบ้าน ให้ความสำคัญเรื่อง รสชาติอาหาร นิยมกินอาหารสด เช่น ส้มตำ รับประทาน ข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก นิยมทอผ้าไหม มีลวดลายเป็น เอกลักษณ์ของภาคอีสาน การละเล่นและเครื่องดนตรี มีจังหวะที่ครึกครื้น สนุกสนาน อย่างหมอลำ และศิลปะการรำฟ้อนที่เรียกกันว่า “เซิ้ง” ชุมชน ในภาคนี้มีความเป็นหมู่คณะสูงทั้งในระดับครอบครัว และเครือญาติ

ความเชื่อชาวอีสานยังคงเชื่อถือเรื่องผีต่างๆ อยู่มาก เช่น ผีบรรพบุรุษ ผีนา ผีไร่ ผีปู่ตา (รักษาหมู่บ้าน) ทุกหมู่บ้านต้องสร้างศาลปู่ตา และประกอบ พิธีเซ่นไหว้อยู่ เป็นประจำ อย่างพิธีบายศรีสู่ขวัญในโอกาสสำคัญ เช่น การแต่งงาน การบวช การเจ็บป่วย การต้อนรับแขกผู้มา เยือน พิธีกรรมต่างๆ เกิดขึ้นเพื่อความสบายใจเป็นหลัก เช่น ประเพณีแห่ผีตาโขน บั้งไฟ แห่เทียนพรรษา และไหลเรือไฟ เป็นต้น
บ้านไทยภาคใต้
ภาคใต้เป็นบริเวณที่มีสภาพทาง ภูมิศาสตร์ที่แตกต่างไปจากภาคอื่นๆ ของประเทศ อีกทั้งยังเป็นพื้นที่ที่มี ฝนตกชุก เนื่องจากได้รับลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ และ ลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ทำให้ภาคนี้มีฝนตกชุก ตลอดทั้งปี ซึ่งกลายเป็น อิทธิพลสำคัญ ต่อการกำหนดรูปแบบเรือนพักอาศัยของประชาชนในภาคใต้ ลักษณะ เรือนพักอาศัยของชาวใต้นั้นมักจะเป็น

เรือนไม้ยกพื้นสูง และเป็นเรือนแฝด และสามารถต่อขยายไปได้ตาม ลักษณะของครอบครัว มีชานเชื่อมต่อกัน ข้างฝาใช้ ไม้กระดาน หรือไม้ไผ่สาน มุงหลังคาด้วย วัสดุที่หา ได้ง่ายในท้องถิ่น บ้างก็เพิ่มหรือ
ลดระดับขั้น เรือน เพื่อแยก กิจกรรมต่างๆ ออกจากกันจึงทำให้เรือนไทยมุสลิมมี การเล่นระดับพื้น ใต้ถุนเรือนใช้เป็น ที่พักผ่อน เก็บของ หรือประกอบอาชีพเสริม เช่น ทำกรงนก ลักษณะ ที่โดดเด่นของเรือนไทยทางภาคใต้ คือหลังคาที่มีทรงสูง มีความลาดเอียง ลงเพื่อให้น้ำฝน ไหลผ่านได้ อย่างสะดวก ชายคาต่อยาวออกไปคลุมถึงบันได

เนื่องจากฝนตกชุกมาก เสาเรือนไม่นิยมฝังลงไปในพื้นดิน แต่จะใช้ “ตอม่อ” หรือฐาน เสาที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง ศิลาแลง หรือที่ทำจากการก่ออิฐฉาบปูนรองรับ เป็น ลักษณะเด่นของเรืองทางภาคใต้ เรือนไทย เรียกได้ว่าเป็นเรือนไทยที่มี “ตีนเสา” เพื่อป้องกันปัญหาการผุกร่อนของเสาเมื่อได้รับความชื้นจากพื้นมาก ๆ วิธีการ สร้างนั้น จะประกอบส่วนต่างๆ ของเรือนบนพื้นดินก่อน แล้วจึงยกส่วน โครงสร้างต่างๆ ขึ้นประกอบเป็นตัวเรือน อีกทีหนึ่ง การวาง ตัวเรือนจะหันเข้าหา เส้นทางสัญจรทั้งทางน้ำและทางบก ซึ่งสามารถรับลมบกและลมทะเลได้ การวางตัว เรือนแบบนี้ ทำให้คนทางภาคใต้หันหัวนอนไปทางทิศใต้เป็นหลัก รอบบริเวณบ้านไม่มีรั้วกั้นแต่จะปลูกไม้ผลเช่น มะพร้าว มะม่วง ขนุน หรือ กล้วย เอาไว้เป็นร่มเงาและแสดงอาณาเขตของบริเวณบ้านแทน

นอกจากเรือนพักอาศัย แล้วยังมีอาคาร ประกอบบ้านเรือน ได้แก่ “ศาลา” ซึ่งมีรูปทรงหลังคาเปลี่ยน ลักษณะไปตามความนิยมของรูปแบบของเรือนพักอาศัย และการสร้างก็ขึ้นอยู่ กับลักษณะการใช้สอย เช่น ใช้สำหรับพบปะสังสรรค์ หรือ เป็นศาลาริมทางประชากร ในภาคใต้ประกอบด้วยชาวไทยพุทธ และชาวไทยมุสลิมเป็นหลัก ทำให้มีขนบธรรมเนียม และวัฒนธรรมประเพณีที่หลากหลาย จะเห็นได้ชัดจากการใช้ภาษา มลายู และภาษาไทย เป็นต้น

ชาวใต้ประกอบอาชีพทำประมง วิถีชีวิตผูกพันกับท้องทะเล เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่โอบล้อมด้วยทะเลทั้ง ๒ ฝั่ง บางพื้นที่ประกอบอาชีพ กสิกรรม เช่นยางพารา เงาะ ทุเรียน ลางสาด และ ลองกอง เป็นต้น

วิถีชีวิตวัฒนธรรมพื้นบ้านของชาวภาคใต้ มาจากรากฐานของวัฒนธรรม พื้นบ้านในท้องถิ่น ที่ได้สั่งสมความรู้และความประพฤติสืบทอดกันมาตั้งแต่ ครั้งอดีตจนถึง ปัจจุบัน การดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย เครื่องแต่งกายของ ฝ่ายชาย จะนุ่งผ้าโสร่ง ใส่เสื้อคอกลม นิยมใช้ผ้าขาวม้าพาดบ่า ฝ่ายหญิง นิยมนุ่งซิ่น หรือผ้าปาเต๊ะ ใส่เสื้อ คอกลม เอกลักษณ์ประจำภาคใต้โดยเฉพาะฝ่ายหญิงต้องทอผ้าได้เอง

มื้ออาหารของชาวใต้นั้น จะทานข้าวเจ้าเป็นหลักและทานอาหารรสจัด ปรุงแต่งสี กลิ่น รส ด้วยเครื่องเทศและสมุนไพร มีผักสดเป็นส่วนประกอบ อาหารที่สำคัญอยู่ในอาหารทุกมื้อ บ้านเรือนส่วนมากนิยมเลี้ยงนกไว้ กิจกรรมยามว่างมีการละเล่นและการ แสดงที่สร้างความบันเทิงอย่าง หนังตะลุง อันเป็นอีกวัฒนธรรมที่เป็นที่รู้จักและ เป็นเอกลักษณ์ของภาคใต้

สภาพทางภูมิศาสตร์ที่แตกต่างไปจากภาคอื่น ๆ ของ ประเทศ เป็นบริเวณที่มีฝนตกชุก ความชื้นสูงมี 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อนและฤดูฝน ในฤดูร้อน อากาศจะไม่ร้อนจัดเหมือนภาคอื่นๆ เพราะภาคนี้ได้รับ ลมมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้ภาคนี้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี ซึ่งเป็นอิทธิพลสำคัญต่อการกำหนดรูปแบบเรือนพักอาศัยของประชาชนในภาคใต้
source: www.scppark.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น