ทุกข์ Analysis

How to Stop Worrying and Start Living
เดล คาร์เนกี (Dale Carnegie)

Step 1 : ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับทุกข์ที่ควรรู้ สิ่งแรกที่ต้องทำก่อนกำจัดทุกข์คือ การทำความรู้จักตัวทุกข์ ให้ถ่องแท้

   - ทุกข์เกิดจากจืตที่ชอบกระโดดออกจากห้องแห่งวันนี้ สาเหตุหลักแห่งทุกข์มาจากการที่เราไม่ดำรงชีวิตอยู่กับปัจจุบันขณะ จุดเริ่มของการชนะทุกข์อย่างเด็ดขาดคือ การอยู่กับวันนี้ อยู่กับลมหายใจเข้า – ออก เพื่อที่จะอยู่กับปัจจุบันขณะอย่างทันท่วงที
   - ทุกข์เกิดจากการไม่ยอมรับว่าทุกข์ การปล่อยให้ทุกข์กัดกินหัวใจไปเรื่อยๆ โดยที่เราไม่เกล้ายืดอกยอมรับว่า เรากำลังมีทุกข์ การบังคับตัวเองให้ลุกขึ้นมาจ้องหน้ากับความทุกข์อย่างไม่หวั่นเกรง ในทางจิควิทยา หลังจากได้เขียนผลเสียหายอันร้ายแรงออกมา จะทำให้เกิดความโล่งใจ สบายใจ จนเราสามารถมองเห็นทางออกของปัญหา
   - ทุกข์สามารถทำลายสุขภาพได้อย่างฉับพลัน ความทุกข์นอกจากจะบ่อนทำลายจิตใจแล้ว ทุกข์ยังเป็นโรคชนิดหนึ่งที่ทำลายสุขภาพให้ทรุดโทรมได้อย่างไม่น่าเชื่อ

Step 2 : ศิลปะแห่งการกำจัดทุกข์ เมื่อรู้จักตัวทุกข์แล้ว ขั้นต่อไปคือการวิเคราะห์และกำจัดทุกข์ให้หมดสิ้น

1. ค้นหาข้อเท็จจริง คณบดีเฮอร์เบิร์ต อี ฮอว์กส์ (Herbert E  Hawkes) แห่งมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กล่าวว่า ครึ่งหนึ่งของทุกข์เกิดจากการตัดสินใจก่อนที่จะค้นหาข้อเท็จจริง การหาข้อเท็จจริงเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้เรารบชนะความทุกข์ได้อย่างราบคาบ ตามปกติเมื่อเกิดทุกข์ เรามักจะปล่อยให้อารมณ์เข้ามาดับทุกข์ ซึ่งนั่นจะยิ่งขยายทุกข์ให้ทุกข์หนักขึ้น ในทางกลับกันหากเราพยายามตั้งสติและค้นหาข้อเท็จจริงหรือเหตุแห่งทุกข์ด้วยใจเป็นธรรมที่เที่ยงตรงแล้ว เมื่อนั้นเราจะเริ่มมองเห็นถึงสาเหตุ

2. ต้องตกลงใจ ทุกข์มักเกิดจากการไม่ยอมรับว่าทุกข์ แม้จะเป็นสิ่งที่ทำได้ไม่ง่ายนัก แต่ให้เราหมั่นฝึกหัดด้วยการนึกถึงคนอื่นที่เขามีความทุกข์มากกว่าเรา

3. จงอย่าอยู่ว่าง ใครที่รู้ตัวว่าหากปล่อยให้จิตว่างเมื่อไร ความเสียใจในอดีตและความวิตกกังวลถึงอนาคตจะวิ่งเข้ามาอย่างฉับพลัน

4. ทำลายนิสัยชอบมีทุกข์ หลายครั้งที่ความทุกข์เกิดจากการที่เรานำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ มาหมักหมมไว้ในใจ

5. ใช้คำสั่ง หยุด  หากความรำคาญ โทสะจริต ความเศร้าโศกเสียใจ และความวิตกทุกข์ร้อนวิ่งวนอยู่ในหัวอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ลองลุกขึ้นมาส่องกระจกแล้วบอกตัวเองเสียใหม่ด้วยคำสั่ง หยุด ดังๆ “นี่(ตามด้วยชื่อตัวเอง) เธอเสียเวลากับเรื่องนี้มากเกินไปแล้วนะ พอกันที”

6. จงฝังอดีตแต่เดี๋ยวนี้ จงอย่าพยายามเลื่อยขี้เลื่อย แน่นอนว่าอดีตอย่างไรเสียก็ต้องเป็นอดีต ความผิดพลาดในอดีตมีประโยชน์และเป็นกำไรชีวิตในการวิเคราะห์เหตุการณ์อื่นๆ แต่จะไม่มีประโยชน์อะไรหากเรานำความผิดพลาดในอดีตมาทรมานจิตใจ และก่อให้เกิดทุกข์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น