งานลงรักปิดทอง สืบสานมรดกไทย

งานลงรักปิดทองของช่างรัก ซึ่งนับวันจะเหลือผู้มีฝีมือลดน้อยลงไปและได้รับการถ่ายทอดจากสถาบันการศึกษาสู่เยาวชนรุ่นหลัง ลวดลายไทยสีเหลืองทองอร่ามตัดกับสีดำมันวาว เป็นงานลงรักปิดทองศิลปลายรดน้ำ รังสรรค์ผลงานโดยช่างรัก งานลงรักปิดทองจัดเป็นงานปราณีตศิลปของไทย จัดอยู่ในงานช่างสิบหมู่แขนงช่างรัก มีวิวัฒนาการสืบทอดมาจากครั้งบรรพบุรุษแต่ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสมัยใด สัญนิฐานว่าพัฒนาจากงานช่างรักเมื่อครั้งสมัยสุโขทัย เป็นราชธานีมีการลงรักปิดทองพระพุทธรูป ต่อมานำมาตกแต่งประดับสิ่งของเครื่องใช้ สำหรับพระมหากษัตริย์ ชนชั้นสูงจนถึงชาวบ้านธรรมดา และเป็นเครื่องใช้ในพระศาสนา แต่ปัจจุบันด้วยจำนวนช่างที่ลดน้อยลงไป มีการแก้ปัญหา สิ่งของมาทดแทนและคุณภาพความคงทนจะลดลง

วิธีการปิดทองที่นำมาประยุกต์ใช้ในปัจจุบัน
อุปกรณ์
1.พู่กันทาสีน้ำมันคละเบอร์ ตามเนื้อผิวงาน
2.พู่กันขนกระต่ายให้ในการปัดฝุ่นหรือเก็บฝุ่นทอง
3.สำลี
4.สี น้ำมัน FLEX (สีแดงและสีเหลือง /เป็นสีแห้งช้า(กว่าสีน้ำมันทั่วไป)และมีความมันวาวไม่ต้องผสมอะไรทั้งสิ้น เพียงแต่อย่าลืมคนสีให้ทั่วให้เนื้อสีกระจายตัวก่อน
5.สีรองพื้นกันสนิม(สีเทา)ในกรณีที่องค์พระหรือพื้นผิวยังไม่ได้ทำอะไรเลย
6.ทองคำเปลวแท้จะมีหลายขนาดและหลายเกรดนะครับ(ระวังทองต่อ หรือทองสองสีนะครับ)
8.ทินเนอร์ ไว้ล้างสีล้างพูกัน/แปรงสีน้ำมัน
9.ทดสอบเวลาที่สี flex แดงและ flex เหลือง แห้งสนิท(สำคัญ)

ขั้นตอน
1.ล้างคราบไขมันต่าง ๆบนองค์พระให้สะอาดด้วยน้ำสบู่หรืออื่น ๆ ที่ไม่ทำให้ผิวขององค์พระเสียหายแล้วปล่อยให้แห้ง
2.พ่น สีรองพื้นเทากันสนิมให้ทั่ว (เขย่ากระป๋องให้เนื้อสีกระจายตัว อย่าพ่นให้เยิ้มพยายามพ่นสีให้กระจายทั่วได้น้ำหนักเท่า ๆ กันแล้วปล่อยทิ้งให้แห้ง 2-3 วัน)
3.ลงสีรองพื้นก่อนลงสีปิดทอง
3.1.ใช้สี flex แดง(อย่าลืมคนสีให้ทั่วให้เนื้อสีกระจายตัว)
3.2.หา ช้อนหรือวัสดุอื่นที่ตักสีได้ ตักสีแบ่งจากกระป๋องใส่ภาชนะอื่นกะให้ได้ปริมาณที่ทาได้ทั่วอย่าลืมปิด กระป๋องสี flex ให้แน่น (เพราะอากาศจะเข้าทำให้สีแห้งเป็นเม็ดสีได้)
3.3.ใช้ พู/แปรงจุ่มสีพอประมาณ(อย่าให้เยิ้ม)ทาสีให้ทั่วพิ้นผิวที่ต้องการทา เกลี่ยสีให้มีน้ำหนักเท่า ๆ กันบางๆไม่ต้องรีบร้อน โดยสังเกตว่าถ้าทาสีหนาจะทำให้รายละเอียดหายไป เช่น ลวดลายผ้า /พระเนตร/ พระโอษฐ์ เป็นต้น แล้วปล่อยให้สีแห้งทิ้งไว้ไม่ต่ำกว่า 3-4 วัน
4.ลงสี flex เหลืองเพื่อปิดทอง
4.1.ใช้สี flex เหลือง(อย่าลืมคนสีให้ทั่วให้เนื้อสีกระจายตัว)
4.2 .หา ช้อนหรือวัสดุอื่นที่ตักสีได้ ตักสีแบ่งจากกระป๋องใส่ภาชนะอื่นกะให้ได้ปริมาณที่ทาได้ทั่วอย่าลืมปิด กระป๋องสี flex ให้แน่น (เพราะอากาศจะเข้าทำให้สีแห้งเป็นเม็ดสีได้)
4.3.ใช้ พู/แปรงจุ่มสีพอประมาณ(อย่าให้เยิ้ม)ทาสีจากด้านบน(เศียร)ลงมาด้านล่าง(ฐาน ล่าง)เกลี่ยสีให้มีน้ำหนักเท่า ๆ กันบางๆไม่ต้องรีบร้อน เสร็จแล้วทิ้งไว้อย่างต่ำ 4 ชม.
5.ปิดทอง
5.1.ตรวจ สอบพื้นผิวสี -ให้ใช้หลังนิ้วแตะทดสอบ สีจะต้องไม่ติดนิ้ว หรือเหนียวจนรู้สึกได้ว่านิ้วมือติด จนกระทั่งรู้สึกว่าแห้งแต่ยังมีความรู้สึกว่ามีความชื้นเวลาปิดทอง ทองคำเปลวจะไม่จมจะเกิดมีความมันวาวเป็นประกายของเนื้อทองคำ (ห้ามให้สีแห้งผาดจะทำให้แผ่นทองไม่ติด)
5.2.ปิด แผ่นทองคำเปลว ที่ผิวองค์พระโดยเริ่มจากส่วนฐานขึ้นด้านบน ให้แผ่นทองเกยทับกันเล็กน้อย ในส่วนที่เป็นลวดลายให้ปิดทับลงไปอีก 1 แผ่น โดยปิดให้ทั่ว
5.3.ใช่พู่กันไล่ผิวแผ่นทองบางๆจากด้านบนรอบด้านลงมาด้านล่าง (อาจจะเว้นช่วงเม็ดศกไว้ทำทีหลังก้อได้)
5.4.พยายามไล่แผ่นทองที่ปิดพร้อมกับตรวจสอบผิวและปิดทองซ้ำ ณตำแหน่งที่ยังไม่ถูกปิดให้เรียบร้อย
5.5. ส่วน เศษทองคำเปลวที่หล่นยังใช้ปิดได้ โดยใช้ พู่กัน (เบอร์เล็ก) แตะแล้วนำมาปิด ณ ที่ยังไม่ถูกปิดให้เรียบร้อยบริเวณที่ต้องการ หรือผงทองให้กวาดเก็บใส่ในตลับสามารถนำมาถมปิดในจุดตำแหน่งเล็กๆ
5.6.เมื่อปิดทั่วบริเวณที่ต้องการและเก็บงานเรียบร้อยแล้วทิ้งไว้ 1 คืน
5.7 .วันต่อมาต้องกรวดทอง โดยใช้สำลีปั้นเป็นก้อนกลมกดลูบเบาๆให้ทั่วให้เนื้อทองเนียนสนิทเป็นเนื้อเดียวกัน

หมายเหตุ หากใช้รักแท้ และมีความหนืดมากเกินไป ใช้นำ้มันตั๋งอิ้วเป็นตัวทำละลาย นำ้มันสนก้อดีแต่มีกลิ่นนิดๆ

source: กมล สุวุฒโฑ อธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
http://board.palungjit.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น