orb ปริศนาวงกลมบนภาพถ่าย



ปริศนาวงกลมบนภาพถ่าย
kanchanapisek.or.th
ปริศนาวงกลมบนภาพถ่าย ปรากฎการณ์ “Orb”
ผศ.ดร.พรชัย พัชรินทร์ตนะกุล อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


ได้ศึกษารวบรวมรูปวงกลม ปริศนาบนภาพถ่าย จากหลากหลายสถานที่ในประเทศไทย และพบว่า วงกลมบนภาพถ่ายเหล่านี้ ส่วยใหญ่ไม่ได้เกิดจากสิ่งเร้นลับ เหนือธรรมชาติ แต่สามารถอธิบายได้ ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์

ซึ่งเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ที่ว่านี้ เป็นที่รู้จักกันดีในวงการถ่ายภาพ ในชื่อปรากฎการณ์ “Orb”

วงกลมบนภาพถ่าย หรือปรากฎการณ์ Orb ไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่สามารถพบเห็นได้ทั่วโลก

ปรากฎการณ์ orb คือจุดสว่างกลมๆ ที่เราเห็นในภาพถ่ายทั่วๆ ไปเป็นเรื่องปกติ ที่เห็นอยู่เรื่อยๆ เห็นจุดสว่างกลมลอบไป ลอยมาอยู่ในภาพถ่าย ที่เขาเรียกว่า Orb และเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ที่ถ่ายภาพอาชีพ และในหมู่นักวิทยาศาสตร์ ที่ทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้

รอบตัวเราเต็มไปด้วยเม็ดฝุ่นขนาดเล็ก ล่องลอยตลอดเวลา โดยที่เราไม่สามารถสังเกตุเห็นด้วยตาเปล่า ฝุ่นเหล่านี้ก็คือ สาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้เกิดรูปวงกลมในภาพถ่าย


Orb ส่วนใหญ่จะปรากฏให้เห็นในเวลากลางคืน นั่นไม่ใช่เพราะว่ามันคือดวงวิญญาณที่กลัวแสงอาทิตย์จะออกมาเพ่นพ่านเฉพาะ หลังพระอาทิตย์ตกดิน แต่เป็นเพราะการถ่ายภาพในตอนกลางวันขาดปัจจัยสำคัญที่จะเอื้ออำนวยให้เกิด ภาพลูกบอลสุกสว่างซึ่งมันคือ “แสงแฟลช” (Flash)
การถ่ายภาพตอนกลางวัน นั้นนักถ่ายภาพส่วนใหญ่ไม่ได้ใช้แฟลชเพราะปริมาณแสงจากดวงอาทิตย์มากเพียงพอ ต่อการบันทึกภาพ ต่างกับการถ่ายภาพในตอนกลางคืนที่มีแสงน้อยจึงจำเป็นต้องใช้แฟลชช่วยในการ ถ่ายภาพ แสงแฟลชจะไปกระทบกับฝุ่นละอองในอากาศที่ลอยอยู่ใกล้ๆแล้วสะท้อนกลับมายัง เลนส์เกิดเป็นภาพลูกบอลสุกสว่าง

แม้ว่าในตอนกลางวันจะมีฝุ่นละอองในอากาศ เช่นเดียวกัน แต่การถ่ายภาพในตอนกลางวันใช้ดวงอาทิตย์เป็นแหล่งกำเนิดแสง ซึ่งตำแหน่งของดวงอาทิตย์อยู่ห่างไกลจากกล้องดังนั้นเมื่อแสงอาทิตย์กระทบ กับฝุ่นละอองมันจะสะท้อนไปในทิศทางต่างๆ นอกจากว่าบังเอิญเม็ดฝุ่นทำมุมสะท้อนแสงอาทิตย์เข้ามาหาเลนส์พอดิบพอดี ซึ่งกรณีนี้เกิดขึ้นยากมากๆ ผิดกับแสงจากแฟลชที่อยู่ใกล้กับเลนส์ ทำให้มันสะท้อนกลับมาเข้าหน้าเลนส์ตามหลักฟิสิกส์ไม่ต้องอาศัยความบังเอิญ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น