สิทธิ์การถือครองที่ดินในประเทศไทย
เอกสารสำคัญทั้งหมดนี้แม้จะแสดงถึงการเป็นผู้มีสิทธิดีกว่าบุคคลอื่นแล้วก็ตาม ถ้าหากท่านปล่อยที่ดินให้เป็นที่รกร้างว่างเปล่าไม่ทำประโยชน์ในที่ดิน กล่าวคือ ถ้าเป็นที่ดินที่โฉนดที่ดิน ปล่อยทิ้งไว้นานเกิน 10 ปี และที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ ปล่อยทิ้งไว้นานเกิน ๕ ปีติดต่อกัน ที่ดินดังกล่าวจะต้องตกเป็นของรัฐตามกฎหมาย หรือถ้าหากปล่อยให้บุคคลอื่นครอบครองโดยสงบเปิดเผย โดยมีเจตนาเอาเป็นเจ้าของโดยท่านไม่เข้าขัดขวาง สำหรับที่ดินที่มีโฉนดที่ดินเป็นเวลา ๑๐ ปีติดต่อกันบุคคลที่เข้าครอบครองนั้นก็จะมีสิทธิไปดำเนินคดีทางศาล เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้บุคคลดังกล่าวได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นโดยการครอบครองได้ และที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.๓ น.ส.๓ ก. น.ส.๓ ข) ใช้เวลาแย่งการครอบครองเพียง ๑ ปีเท่านั้น ท่านก็จะเสียสิทธิดังนั้นเมื่อที่ดินของท่านมีเอกสารสำคัญดังกล่าวอยู่แล้ว ก็ควรทำประโยชน์และดูแลรักษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่ดินก็จะเป็นของท่าน และเป็นมรดกที่มีค่าให้แก่ทายาทของท่านต่อไป
เอกสารสิทธิ์ถือครองที่ดิน
- ภ.บ.ท.5/ภ.บ.ท.6 ใบสร็จเสียภาษีบำรุงท้องที่
- ส.ป.ก.4-01 หนังสือแสดงสิทธิ์การทำเกษตร ไม่มีสิทธิ์ขายแต่ตกเป็นมรดกลูกหลานได้
- กสน. หนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดินทำกินในเขตนิคมสหกรณ์
- สทก. หน้งสือแสดงสิทธิ์ที่ดินทำกินในเขตป่าสงวน
- น.ศ.3 หนังสือให้เข้าใช้ในนิคมสร้างตนเอง
- ใบเหยียบย้ำ เอกสารครอบครองที่ดินเก่าที่ให้บุคคลเข้าครอบครองบุกเบิกที่ดิน
- ใบไต่สวน (น.ส.5) หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อการออกโฉนด ใบไต่สวน หรือ น.ส.5 คือ ที่ดินนั้นได้มีการนำรังวัดเพื่อออกโฉนดที่ดิน มิใช่หนังสือสำคัญแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เจ้าของที่ดินที่มีใบไต่สวนมีแต่เพียงสิทธิครอบครองเท่านั้น ได้ให้ความหมายว่าเป็น หนังสือแสดงการสอบสวนเพื่อออกโฉนดที่ดิน และให้หมายความรวมถึงใบนำด้วย การออกโฉนดที่ดินจะต้องมีการทำใบไต่สวน ก่อนการออกโฉนดที่ดิน เจ้าพนักงานที่ดินจะต้องทำการเดินสำรวจรังวัด ในการเดินสำรวจนั้นเมื่อเดินสำรวจไปถึงที่ดินของผู้ใดที่มานำรังวัด ผู้ครอบครองที่ดินนั้นจะต้องนำเจ้าพนักงานที่ดินชี้แนวเขตที่ดินของตน ให้ความสะดวกและนำรังวัด เจ้าพนักงานที่ดินจะสอบสวนรายละเอียดเกี่ยวกับเขตที่ดินและสอบสวนว่าผู้ใด เป็นเจ้าของ ได้ที่ดินมาอย่างไร เมื่อใด ใครครอบครองที่ดินอยู่ มีหลักฐานสำหรับที่ดินหรือไม่ เมื่อได้ความว่าใครเป็นเจ้าของโดยไม่มีผู้คัดค้าน เจ้าพนักงานที่ดินก็จะใส่ชื่อผู้นั้นและจดบันทึกรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดิน ที่ได้จากการเดินสำรวจรังวัดลงไว้ในใบไต่สวน เพื่อใช้เป็นหลักฐานข้อมูลในการทำโฉนดที่ดิน หลังจากนั้นจะประกาศให้มารับโฉนดที่ดินต่อไป
- ใบจอง (น.ส.2) หนังสืออนุญาติให้เข้าใช้ที่ดินชั่วคราว หนังสือ แสดงสิทธิ ที่ทางราชการออกให้เพื่อแสดงความยินยอมให้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินเป็น การชั่วคราว ผู้รับใบจองต้องเริ่มทำประโยชน์ในที่ดินให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน และต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับแต่วันที่ได้รับใบจอง
- ส.ค.1 หนังสือแสดงสิทธิ์การครอบครองที่ดินเปล่า ส.ค.1 (ใบแจ้งการครอบครองที่ดิน) เป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ครอบครองเป็นผู้แจ้งว่าตนครอบครองที่ดินแปลงใด อยู่ แต่ส.ค.1นี้ไม่ใช่หนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน เป็นเพียงคำแจ้งความของราษฎรเท่านั้น ที่ดินที่มีส.ค.1จะไม่สามารถขายหรือยกให้ได้ แต่จะโอนกันได้เพียงแสดงเจตนาสละการครอบครองและไม่ยึดถือพร้อมส่งมอบให้ผู้ รับโอนไปเท่านั้นซึ่งผู้ครอบครองคนใหม่สามารถทำใบแจ้งการครอบครองที่ดินฉบับ ใหม่ได้
- น.ส.3/น.ส.3ก. หนังสือรับรองการเข้าใช้ที่ดิน นำไปใช้ทำนิติกรรมได้ นส.3 (หนังสือรับรองการใช้ประโยชน์) หนังสือรับรองฉบับนี้คล้ายกับหนังสือรับรองข้างต้น เว้นแต่ระเบียบวิธีในการแจ้งสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ก่อนการโอนจะเกิดขึ้นจะต้องมี หนังสือแสดงเจตน์จำนงและจะประกาศแจก นส. 3 มีกำหนด 30 วัน ก่อนที่การเปลี่ยนแปลงสถานภาพของที่ดินจะมีการจดทะเบียนนส.3 ก (หนังสือรับรองการทำประโยชน์) หนังสือรับรองการทำฉบับนี้แสดงให้เห็นว่า บุคคลที่มีรายชื่อปรากฎอยู่ในหนังสือรับรอง เป็นบุคคลทีมีสิทธิถูกต้องในการใช้ประโยชน์ที่ดิน หรือโดยนัย คือ ซึ่งอาจจำหน่ายได้, ให้เช่า, ใช้ประโยชน์ในการจำนอง และอื่นๆ ผู้ถือหนังสือรับรองนี้ มาสามารถปล่อยที่ดินให้รกร้าง โดยไม่ดูแลนานเกินกว่า 12 ปี โฉนดและ นส 3 ก นี้ เป็นเอกสารสิทธิ์ที่แสดงว่าเจ้าของสามารถให้เช่าได้
- โฉนด/น.ส.4 หนังสือสำคัญแสดงสิทธิ์การถือครองที่ดินอย่างถูกกฏหมาย โฉนด กรรมสิทธิ์ในที่ดินซึ่งเจ้าของมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นอย่างสมบูรณ์ โฉนดจะมีการจดทะเบียน ณ กรมที่ดินประจำจังหวัดที่ทรัพย์สินตั้งอยู่และไม่จำเป็นต้องรอการโอน กรรมสิทธิ์ ซึ่งโฉนดที่ดินจะต้องได้รับการตรวจสอบอย่างถูกต้อง การแบ่งเขตที่ดินสัมพันธ์กับการตรวจสอบระดับชาติ พร้อมทั้งทำเครื่องหมายโดยการติดตัวเลขเฉพาะลงบนที่ดิน ซึ่งเป็นเป้าหมายระยะยาวของกรมที่ดินที่จะใช้ระบบโฉนดเพื่อครอบคลุมที่ดิน ทั้งหมดในประเทศไทย
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น