เรือนคำเที่ยง เรือนไทยล้านนา

เรือนไทยคำเที่ยง เดิมสร้างขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ริมฝั่งแม่น้ำปิงเมื่อประมาณ 200 ปีมาแล้วและลูกหลานได้ใช้เรือนนี้มาจนปีพศ. 2506 แล้วยกให้กับทางสยามสมาคม และได้ทำการรื้อถอนมาสร้างในกรุงเทพฯ บริเวณถนนอโศกมนตรี

เรือนไทยมีลักษณะเด่นที่เป็นเรือนไม้ หลังคาจั่ว ใต้ถุนสูงและมีชานบ้านกว้างๆ ไว้พักผ่อนทำกิจกรรมต่างๆ ตัวเรือนไทยทางภาคเหนือตัวเรือนจะสอบออก หลังคายื่นยาวดูเตี้ยคุ่ม ช่องหน้าต่างก็แคบเล็กเพื่อกันลมหนาว ตัวเรือนมักจะปลูกเป็นหลังคาแฝดติดกัน ประดับด้วยกาแลที่ยอดจั่ว นอกจากนี้ก็ยังมี ฮ้านน้ำ และเรือรครัว ฮ้านน้ำ คือหิ้งสำหรับวางหม้อน้ำดื่ม พร้อมที่แขวนกระบวยหิ้งน้ำ สูงประมาณ80-100 เซนติเมตร หากหิ้งน้ำอยู่ที่ชานโล่งแจ้งเจ้าของบ้านจะทำหลังคาคลุมลักษณะคล้ายเรือน เล็ก ๆ เพื่อมิให้แสงแดดส่องลงมาที่หม้อน้ำ หม้อน้ำนี้ยิ่งเก่ายิ่งดี เพราะมักจะมีตะใคร่น้ำเกาะ ภายนอกช่วยให้น้ำในหม้อเย็นกว่าเดิม ข้างๆหม้อน้ำจะวางซองน้ำบวย (ที่ใส่น้ำกระบวย) ทำจากไม้ระแนงเป็นรูปสามเหลี่ยมตัว V ใส่กระบวยที่ทำจากกะลามะพร้าวต่อด้ามไม้สัก บางทีสลักเสลาปลายด้ามเป็นรูปสัตว์ต่างๆ

หำยนต์ เป็นลายไม้แกะสลักที่อยู่เหนือประตูเป็นสัญญลักษณ์ของชาวเหนือเป็นสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์พลังบุรุษที่ช่วยปกป้องชาวล้านนา ชาวล้านนาเชื่อกันว่าหำยนต์ทำหน้าที่เหมือนยันต์ป้องกัน ขับไล่สิ่งไม่ดีต่างๆ ไม่ให้ผ่านเข้าไปทำอันตรายแก่ผู้ที่อยู่อาศัยเป็นสิ่งบอกถึงพื้นที่เฉพาะคน อยู่ในตระกูลที่นับถือผีบรรพบุรุษเดียวกัน หำยนต์จะทำขึ้นพร้อมกับการสร้างเรือนใหม่โดยวัดตามขนาดเท่าของผู้ชายที่เป็น หัวหน้าครอบครัว

พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยง ตั้งอยู่ที่ 131 ถนนอโศกมนตรี แขวงวัฒนาเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ การเดินทาง สามารถนั่งรถไฟฟ้ามาลงที่สถานีอโศก ออกทางออกที่ 3 หรือนั่งรถไฟใต้ดินมาขึ้นที่สถานีสุขุมวิท ออกทางออกที่ 1 แล้วเดินตรงมาทางถนนอโศกมนตรีอีกประมาณ 200 เมตร พิพิธภัณฑ์เรือนคำเที่ยงจะอยู่ทางซ้ายมือ

สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร 0-2661-6470 ถึง 7

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น