เมื่อถูกเลิกจ้าง!!

เมื่อเลิกจ้างที่ถูกต้องตามกฏหมาย นายจ้างต้องบอกการเลิกจ้างกับลูกจ้างล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดวันจ่ายเงินค่า จ้าง หรือในวันจ่ายเงินค่าจ้าง เพื่อให้ผลการเลิกจ้างเกิดขึ้นในวันจ่ายเงินค่าจ้างคราวถัดไป และนายจ้างมีหน้าที่ระบุเหตุผลในการเลิกจ้างด้วย

หากนายจ้้างไม่บอกเหตุผลหรือเหตุของความผิดของลูกจ้างที่ตนไม่จ่ายค่าชด เชยให้ลูกจ้าง แม้ลูกจ้างจะทำความผิดถึงขั้นไม่อาจได้รับเงินค่าชดเชยจากนายจ้าง แต่การที่นายจ้างไม่ระบุเหตุผลดังกล่าว นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง และลูกจ้างย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าสินจ้างจากนายจ้างได้อีกด้วย
การจ่ายค่าชดเชยที่นายจ้างต้องจ่ายให้กับ ลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิด (หรือนายจ้างไม่ระบุเหตุผลการเลิกจ้าง) ต้องคำนวณจากค่าจ้างอัตราสุดท้ายหรือค่าจ้างการทำงานเดือนสุดท้ายของลูกจ้าง และดูอายุการทำงานประกอบกัน เช่น ถ้าลูกจ้างทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างเท่ากับ 30 วัน หรือ 1 เดือน ถ้าลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ครบ 3 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างเท่ากับ 90 วันหรือ 3 เดือน

หรือถ้าลูกจ้างทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างเท่ากับ 180 วันหรือ 6 เดือน ถ้าลูกจ้างทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ปี นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างเท่ากับ 240 วันหรือ 8 เดือน และถ้าลูกจ้างทำงานครบ 10 ปีขึ้นไปนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับลูกจ้างเท่ากับ 300 วันหรือ 10 เดือน

แต่มีกรณ๊ที่นายจ้างสามารถไล่ลูกจ้างออกจากงานได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และทั้งไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้ คือ
  1. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญา โดยเจตนาต่อนายจ้างเช่น การนำทรัพย์นายจ้างไปใช้-ขายโดยปราศจากสิทธิโดยชอบ เป็นการกระทำที่มุ่งหาประโยชน์โดยมิชอบ เป็นการทุจริตต่อหน้าที่อยู่ในตัว
  2. จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เช่น ลูกจ้างทำเอกสารแจกให้เพื่อนร่วมงานอ่าน ทำให้เกิดความเสียหายแก่นายจ้าง ถือว่าเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  3. ประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
  4. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน หรือระเบียบหรือคำสั่ง ของนายจ้างอันชอบด้วยกฏหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณ๊ที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนมีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่ลูกจ้างกระทำผิด
    แต่ถ้าเป็นกรณีกระทำความผิดไม่ร้ายแรง นายจ้างต้องตักเตือนลูกจ้างเป็นหนังสือก่อนหนึ่งครั้ง เมื่อลูกจ้างกระทำความผิดแบบเดิมซ้ำอีกครั้งภายใน 1 ปีนับจากการกระทำความผิดครั้งแรก นายจ้างจึงจะเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
  5. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
  6. ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุด เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ซึ่งการกระทำความผิดอาญาต้องให้ศาลมีคำพิพากษาจำคุกในขณะที่เป็นลูกจ้างหรือ ก่อนเป็นลูกจ้างก็ได้
ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤติแรงงาน สิทธิประโยชน์คนงานเมื่อถูกเลิกจ้าง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น