พุกพลาสติก

พุกพลาสติก

พุกพลาสติกหรือพุกตัวหนอน

"พุก" คือ อุปกรณ์สำหรับช่วยยึดนอตหรือสกรูเข้ากับผนัง ทุกคนคงคุ้นหูคุ้นตากับ "ตัวหนอนพลาสติก" ที่ใช้เมื่อต้องการแขวนตู้หรือภาพบนผนัง จริงๆแล้วพุกมีหลากหลายชนิด หน้าตาก็ไม่ได้เป็นตัวหนอนทั้งหมด แต่หลักการทำงานจะคล้ายๆกันคือช่วยเพิ่มแรงยึดเกาะระหว่างเกลียวกับผนัง "ช่างในบ้าน"ที่ดีควรรู้ว่าจะใช้พุกแบบไหนกับผนังแต่ละชนิด เพื่อความคงทนและความปลอดภัยในบ้าน ก่อนจะลงมือทำโปรเจ็คท์ต่อไป เรามาดูกันว่าพุกแต่ละชนิดมีอะไรบ้าง
ประเภทของพุก
1.พุกพลาสติกหรือพุกตัวหนอน รูปร่างลักษณะคล้ายตัวหนอน เหมาะสำหรับผนังแบบปูนและคอนกรีตทั่วๆไป จะข่วยให้สิ่งของที่แขวนอยู่ข้างผนังสามารถแขวนได้อย่างมั่นคง และยิ่งไปกว่านั้นในทางการแพทย์กระดูกหักก้สามารถรักษาได้ด้วยพุกนี้ การใช้งานที่รับน้ำหนักไม่มาก เช่น การแขวนรูปภาพประดับผนัง งานเดินท่อน้ำต่างๆ ภายในบ้าน เป็นต้น
2.พุกสำหรับคอนกรีตบล็อก รูปร่างคล้ายพุกตัวหนอน แต่บริเวณลำตัวของพุกจะมีสันหรือลอนถี่มากกว่า ทำจากไนล่อนซึ่งมีความเหนียวและแข็งแรง ทำให้สามารถรับน้ำหนักได้สูงกว่าพุกพลาสติก เหมาะสำหรับผนังแบบคอนกรีตบล็อกแต่สามารถนำไปใช้ได้กับผนังแบบปูนและคอนกรีตทั่วไป
3.พุกสำหรับคอนกรีตมวลเบา ทำจากโลหะ มีลักษณะเป็นเกลียวคม ทำให้สามารถยึดติดกับเนื้อของอิฐมวลเบาได้ดี สามารถรับน้ำหนักได้ดีกว่าพุกพลาสติก เหมาะสำหรับผนังแบบคอนกรีตมวลเบาแต่สามารถนำไปใช้ได้กับผนังแบบปูนและคอนกรีตทั่วไป
 4.พุกสำหรับงานยิปซัม เหมาะสำหรับผนังแบบยิปซัม เนื่องจากเนื้อในของยิปซัมจะมีประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักน้อยกว่าผนังแบบอื่นๆ พุกจึงถูกออกแบบให้มีลักษณะพิเศษ โดยมี 2 แบบ ด้วยกันคือพุกสำหรับงานยิบซัมทั่วไป มีรูปร่างคล้ายพุกเหล็ก แต่ช่วงกลางลำตัวจะนูนขึ้นมาเล็กน้อย เมื่อขันนอต สกรู หรือตะปูเกลียวเข้าไปพุกจะกางออกที่ด้านในของแผ่นยิมซัมและพุกสำหรับงานยิบซัมที่รับน้ำหนักเป็นพิเศษ มีลักษณะเป็นเกลียว ช่วยเพิ่มความแข็งแรงในการยึดเกาะได้ดี
5.พุกเหล็ก เหมาะกับการใช้งานในที่ร่มและงานที่ต้องการรับน้ำหนักมากเป็นพิเศษ เช่น งานติดตั้งเสารับน้ำหนักบนพื้นคอนกรีตของโรงรถ งานยึดฝ้าเพดานเพื่อแขวนแชนเดอเลียร์ เมื่อขันนอต สกรู หรือตะปูเกลียวเข้าไป เขี้ยวเล็กๆ2เขี้ยวด้านข้าง จะค่อยๆขยายตัวออกและยึดติดกับผนัง
6.พุกตะกั่ว เหมาะกับงานกลางแจ้ง เนื่องจากรับน้ำหนักและทนต่ออุณหภูมิความร้อนภายนอกได้ดีกว่าพุกพลาสติกหรือพุกเหล็กซึ่งเกิดสนิมได้ง่าย เช่น การติดตั้งแท็งก์บรรจุน้ำดื่มน้ำใช้ที่ตั้งอยู่บนดาดฟ้า 7.พุกเคมี พุกประเภท นี้เราไม่ได้ใช้เองในบ้าน เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ของช่างก่อสร้างอาชีพ แต่ควรทำความรู้จักไว้ โดยช่างจะเจาะรูที่เสาหรือผนังคอนกรีตแล้วสอดพุกเข้าไป จากนั้นจะใช้สว่านเจาะพุกให้แตก แล้วสอดเหล็กเส้นหรือตะปูเกลียวเข้าไป กาวเคมีที่อยู่ในหลอดแก้วจะช่วยยึดให้ติดแน่นกับปูน

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น