ต่อต้านโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในประเทศไทย


ประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
Against Nuclear Power

ผู้ว่าการ กฟผ. ได้กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมในส่วนของ กฟผ. ว่าขณะนี้ได้เตรียมพร้อมด้านบุคลากร โดยได้รับความร่วมมือจากภาควิชานิวเคลียร์เทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการจัดอบรมให้ความรู้พื้นฐานพลังงานนิวเคลียร์ ให้ผู้ปฏิบัติงาน กฟผ. เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งไปเรียนในหลักสูตรก้าวหน้าในประเทศที่พัฒนาโรง ไฟฟ้านิวเคลียร์ต่อไป ทั้งนี้ กฟผ. ได้พิจารณาแล้วว่าการเตรียมความพร้อมทุกด้าน เพื่อรองรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์นับได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากปัจจุบันนี้ปริมาณสำรองน้ำมันในโลกมีเหลือใช้ได้อีกประมาณ 40 ปี ส่วนก๊าซธรรมชาติที่ประเทศไทยใช้มากถึง ร้อยละ 70 แหล่งก๊าซในประเทศก็จะหมดไปในระยะเวลาอีกประมาณ 20 ปีข้างหน้า

ดังนั้นอนาคตของเชื้อเพลิงที่พึ่งพาได้ นอกเหนือจากการนำเข้าถ่านหินซึ่งจะมีแหล่งสำรองใช้ไปได้อีก 200 ปี พลังงานนิวเคลียร์จึงเป็นพลังงานทางเลือกอีกทางหนึ่งของประเทศไทย โดยต้องมีการศึกษาและติดตามเทคโนโลยีเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในอนาคตเช่นกัน

เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่แก้กันไม่ตกสักที ไม่ว่าจะหยิบยกมาคุยเมื่อใดก็ต้องเป็น "เรื่อง" แทบทุกครั้งไป โดยเฉพาะกับ "โรงไฟฟ้านิวเคลียร์" ที่ประเทศไทยยังไม่เคยมีประสบการณ์มาก่อน แต่ทางกระทรวงพลังงานได้ออกมาบอกว่า โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ เพราะหากวันนี้ยังไม่ทำก็ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่จะได้เริ่ม และยังเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศที่เพิ่ม ขึ้นทุกวันด้วย

ทั้งนี้เดิมปี 19 รัฐบาลได้อนุมัติให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาด 600 เมกะวัตต์ ที่อ่าวไผ่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี แต่ได้มีการคัดค้านจากประชาชน ทำให้รัฐบาลตัดสินใจล้มเลิกโครงการไปในที่สุด จนเมื่อช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ที่ราคาน้ำมันทุบสถิติทำราคาน้ำมันพุ่งไปอยู่ที่ระดับ 147 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เกินความคาดหมายทั้งหลายทั้งปวงไปอย่างแทบไม่น่าเชื่อ
แต่มองว่าโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์เป็นเทคโนโลยีด้านพลังงานที่หล้าหลัง มีการลงทุนที่สูงมาก และที่สำคัญก็คือส่งผลกระทบอย่างรุนแรง ดังจะเห็นได้จากเมื่อ ปีพ.ศ.2529 เกิดอุบัติเหตุโรงไฟฟ้านิวเคลียร์รั่วที่เชอร์โนบิล ประเทศรัสเซีย แล้วทำให้สารกัมมันตภาพรังสีแผ่กระจายออกไปเป็นบริเวณกว้างทั่วทวีปยุโรป และยังส่งผลกระทบครอบคลุมไปจนถึงบางส่วนของทวีปอเมริกาเหนือ จากรายงาน ของคณะนักวิทยาศาสตร์จากสหประชาชาติ (The Chernobyl Forum) รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตโดยตรงจากอุบัติเหตุครั้งนั้น จำนวน 42 คน และประมาณอย่างหยาบๆ ว่า น่าจะมีผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งถึง 9,000 คน มีเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครกู้ภัยถึง 600,000 คนที่ได้รับรังสีอย่างรุนแรง ระหว่างปี 2529-2532 ที่ต้องชำระล้างรังสีที่ปนเปื้อน ตัวเลขจากหน่วยงานรัฐใน 3 ประเทศระบุว่าเสียชีวิตแล้ว 25,000 คน (แต่สมาคมเพื่อนักกู้ภัยระบุว่าตัวเลขจริงสูงกว่านั้น) ปี 2549 (ครบรอบ 20 ปี) กลุ่มวิทยาศาสตร์อังกฤษระบุว่า ผู้เสียชีวิตด้วยมะเร็งจากกัมมันตภาพรังสีของเชอร์โนบิลอาจสูงถึง 66,000 คน ที่มา : บางส่วน เว็บไซต์ไทยเอ็นจีโอ
ประเทศไทยยังไม่พร้อมที่จะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
เรายังขาดความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนัก จิตสำนึกต่อความหายนะ แม้ว่าภาครัฐจะมีอุปกรณ์ในการป้องกัน แต่เมื่อเกิดเหตุกาณ์ไม่คาดฝัน อุปกรณ์ในการป้องกันเก็บอยู่ในห้อง ไม่นำมาใช้ ปัญหาขยะที่ปนเปื้อนสารกัมมันภาพรังสีจากโรงงาน และความเสี่ยงของการระเบิด และความเสียหายอย่างที่เกิดขึ้นกับโรงงานเชอร์โนบิล

เดิมทีแล้วพลังงานนิวเคลียร์ไม่ได้จะนำมาผลิตกระแสไฟฟ้า แต่ใช้ทำระเบิด และเมื่อผลิตกระแสไฟฟ้าจากสิ่งที่ควรจะเป็นอันตรายขนาดนั้น มันไม่ปลอดภัยแน่ เราต้องใชัพลังงานทดแทนกลับมาใช้ใหม่ อาทิ พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ พลังงานชีวภาพ เป็นต้น

คงไม่ลืมกรณี เรื่องราวที่ซาเล้งขายเหล็กเป็นเหยื่อสารกัมมันตภาพรังสี และพนักงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาครัฐเองก็ดียังถูกสารปนเปื้อนสารกัมมันตภาพ(ชุดป้องกันสารกัมมันตภาพรังสี ซื้อมาแล้วเก็บไว้ในห้องไม่นำมาใช้ ?) และระบบกฎหมายหมายไทยยังล้าหลังมาก ในการป้องกันและตรวจสอบ หรือแม้กระทั่ง การเตรียมวิธีการไว้รองรับกับปัญหาในด้านสารพิษต่างๆ หรือสารกัมมันตภาพรังสี พลังงานใหม่ที่เทคโนโลยีปัจจุบันก้าวหน้าไปถึง รัฐยังกระบวนการที่ชัดเจนและรัดกุม ที่สำคัญขาดวิสัยทัศน์ในการดูแลตรวจสอบ ในด้านที่กลับกันหากมีความต้องการใช้ประโยชน์ กลับพูดถึงแต่ด้านดี ที่จะนำมาใช้โดยไม่กล่าวถึงด้านที่ส่งผลเลวร้าย ประเทศไทยยังไม่พร้อมจะมีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

เรามีบทเรียนจากสนามบินสุวรรณภูมิ เพราะคอร์รัปชั่น กับความมักง่ายด้านความปลอดภัยจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง การสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์จะปลอดภัยจริงหรือ มันคุ้มกับการเดิมพันด้วยชีวิต เผ่าพันธุ์ชาติไทย ความผิดปกติของโครโมโซมถ่ายทอดไปยังลูกหลานจากผลของกัมมันตภาพรังสี

สถานการณ์โรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ญี่ปุ่นระเบิด
การให้ความสำคัญกับความปลอดภัยเป็นสิ่งที่น่าจะเป็นตัวอย่างได้อย่างดีสำหรับการเตรียมพร้อมของหลายๆประเทศ แน่นอนว่าความกังวลในเรื่องความปลอดภัยหลังเกิดเหตุในญี่ปุ่นเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง หลังจากเหตุการณ์ที่เกิดในญี่ปุ่น การจะกลับไปมีมุมมองต่อเรื่องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ในประเทศไทยดังกล่าวอย่างเคยนั้นคงจะเป็นไปไม่ได้แล้ว

ประเทศไทยล้มเหลวในการประเมินขอบเขตของภัยพิบัติขอให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนและประเมินการณ์ความจำเป็นที่จะต้องมีพลังงานปรมาณูเสียใหม่ ความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นยากแก่การประมินความเสียหาย ทั้งการอพยพผู้คน ประชาชนบริเวณโดยรอบให้ห่างจากสารกัมมันตรังสี 20 กิโลเมตร ความเสียหายต่อเศรษฐกิจที่ต้องหยุดชะงัก ผลที่ตามมาจากกระจายของสารกัมมันตรังสีที่ไปกับสายลม ที่จะกระทบต่อคน สัตว์และพืชอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
 รัฐบาลของเยอรมันออกมาประกาศแล้วว่ามีแผนจะปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทั้งห­มด www.greenpeace.org

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น