การขุดเจาะน้ำมันด้วยวิธี Fracking - ทิ้งความเสียหายไว้เบื้องหลัง


มีใครรู้กันบ้างว่าวิธีขุดเจาน้ำมันที่ฝรั่งนำมาใช้ในเมืองไทยนั้นอันตรายขนาดไหน Rex Tillerson ประธานกรรมการบริษัท Exxon  ออกมาประท้วงการใช้วิธี Fracking ในเมืองที่เขาอยู่ การขุดเจาะน้ำมันด้วยวิธี Fracking เป็นวิธีที่ถูกเงินแต่ทิ้งความเสียหายไว้เบื้องหลังมากมาย แต่ละบ่อน้ำมันต้องใช้น้ำจืดหลายล้าน Gallon ซึ่งจะต้องแย่งน้ำจากเกษตรกรแน่นอน อีสานจะต้องแห้งแล้งทั้งภาค อีกทั้งยังทำให้เกิดแผ่นดินไหว และเป็นต้นเหตุของโรคภัยไข้เจ็บที่จะตามมาจากของเสียที่ออกมาจากขบวนการ Fracking มีหลักฐานว่าประชาชนในเมืองนั้นๆจะเกิดมาพิการ โดยเฉพาะความไม่สมประกอบของหัวใจ ในอเมริกาเอง หมอกว่า 1000 คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ได้ออกมาต่อต้าน Fracking


การขุดเจาะน้ำมันในประเทศไทยทุกบ่อ ใช้วิธี Fracking ถ้าเราต้องซื้อน้ำมันที่ราคา Singapore ก็ซื้อใช้ดีกว่า ใช้เงินเท่าเดิม แต่ไม่ต้องให้ฝรั่งมาทำ Fracking ในบ้านเรา ลูกหลานในภาคอีสานจะได้ไม่ต้องเกิดมาพิกลพิการ

ฟังอีกด้านจากมุมมองผู้คัดค้าน Acid fracturing ในพื้นที่ขุดเจาะสำรวจน้ำมัน

ชี้เป็นการฆาตกรรมอำพรางประเทศด้วยความหายนะทางสิ่งแวดล้อม วอนทุกฝ่ายทบทวนและยับยั้งโครงการก่อนแผ่นดินเกษตรของชาติล่มจม แนะไทยควรมีนักวิจัยศึกษาอันตรายแอซิดแฟรกเจอริ่งก่อนสิ้นชาติ
   
 “คนไทยรู้แค่ว่าการขุดเจาะปิโตรเลียมจะได้น้ำมัน ได้ก๊าซธรรมชาติ ดูเป็นอะไรที่มีประโยชน์เสียเหลือเกิน แต่พวกเขาไม่เคยรู้เลยว่ากว่าจะได้ปิโตรเลียมพวกนั้นมา พื้นแผ่นดินของเราต้องสูญเสียย่อยยับไปสักเท่าไร ต้องปนเปื้อนเคมีร้ายแรงไปมากน้อยแค่ไหน แล้วสิ่งแวดล้อมที่บริเวณนั้นๆ จะต้องเผชิญกับปัญหาอะไร” คำกล่าวหนึ่งจาก สมลักษณ์ หุตานุวัตร ขณะให้สัมภาษณ์กับทีมข่าววิทยาศาสตร์ ASTV-ผู้จัดการออนไลน์ในฐานะผู้ศึกษาและติดตามการขุดสำรวจก๊าซธรรมชาติในประเทศไทยโดยเฉพาะพื้นที่นาดูน มูลสาด จ.ขอนแก่น และ จ.กาฬสินธุ์ ที่กำลังจะมีการดำเนินการฉีดอัดสารเคมีผสมน้ำลงพื้นดิน เพื่อเดินหน้าการขุดสำรวจก๊าซธรรมชาติในพื้นที่
      
สมลักษณ์ หุตานุวัตร อาสาสมัครอิสระเพื่อมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า สาเหตุที่ต้องออกมาต่อต้านการทำแอซิด แฟรกเจอริง (Acid fracturing) จากการกระบวนการขุดสำรวจน้ำมันในพื้นที่ภาคอีสาน เพราะการกระทำดังกล่าวเป็นวิธีการที่ตองใช้สารเคมีที่มีอันตรายร้ายแรง ซึ่งจะส่งผลกระทบระยะยาวต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนในพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่เกษตรกรรมที่ประชาชนต้องหาอยู่หากินกับผืนแผ่นดินโดยตรง
      
สำหรับการทำแอซิดแฟรกเจอริงเป็นเทคนิคการขุดเจาะที่พัฒนาจากแฟรกกิง (Fracking) ปกติ ที่ใช้การยิงหินให้เกิดรอยแยกในชั้นหินดินดาน แล้วอัดด้วยสารเคมีผสมน้ำจำนวนมากลงไปเพื่อกระตุ้นให้ปิโตรเลียมที่อยู่ในสถานะของก๊าซไหลขึ้นมาตามท่อ ส่วนการทำแอซิดแฟรกเจอริง เป็นการเพิ่มกระบวนการ ในการอัดสารเคมีที่เป็นกรดลงไปละลายหินปูนระหว่างชั้นความลึกที่ท่อเจาะผ่านเพื่อให้กรดทำปฏิกิริยาให้ปิโตรเลียมที่อยู่ในหินปูนไหลเข้าสู่ท่อ หรือการนำเอาปิโตรเลียมที่อาจจะอยู่ตื้นกว่าชั้นหินดินดานขึ้นมา ซึ่งเป็นเทคนิคที่อยู่นอกเหนือจากการขุดเจาะแบบปกติ (conventional) ที่ใช้ในชั้นหินที่เป็นแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม
      
สำหรับประเทศไทย สมลักษณ์ระบุว่าการอัดสารเคมีผสมน้ำลงไปที่ชั้นหินแล้วดูดกลับขึ้นมา ยังไม่มีรายงานที่ชัดเจนว่า สารเคมีที่ตกค้างในชั้นดินและหินที่อยู่ในโครงสร้างธรณีวิทยาแหล่งดงมูลแห่งนี้ จะสามารถดูดกลับขึ้นมานยังบ่อพักได้มากเท่าไร ในรายงานศึกษาการปนเปื้อนสารเคมีในแหล่งน้ำจาการทำแฟร็กกิ้ง ของหน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา (Environmental Protection Agency--EPA) กล่าว่าการทำแฟร็กกิ้งในสหรัฐอเมริกา สามารถดูดสารเคมีกลับขึ้นมได้เพียง 10-70% เท่านั้น ส่วนที่หายไปคือสารเคมีที่ฝังอยู่ในแผ่นดิน ซึ่งมีโอกาสปนเปื้อนในแหล่งน้ำได้ โดยเธอระบุว่ากระบวนการดังกล่าวได้สร้างความเสียหายให้กับหลายๆ พื้นที่ในต่างประเทศจนเกิดการประท้วงและออกกฎหมายห้ามทำแฟรกกิงในหลายประเทศรวมถึงสหรัฐฯ

 ผลจากการทำ Fracking, Acid Fractring, Fracture, Hydraulic fracturing ในพื้นที่บนบกที่กาฬสินธุ์ อุดรธานี เกิดผลกระทบจนประชาชนได้รับความเดือดร้อนทั้งสุขภาพ การเกษตรและสิ่งแวดล้อในประเทศอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และ คานาดา โดยเฉพาะในอเมริกาซึ่งมีการทำ Fracking, Acid Fractring, Fracture, Hydraulic fracturing อย่างกว้างขวางในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ปรากฎว่าเกิดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง จนประเทศเหล่านี้ต้องออกกฎหมายห้าม Fracking, Acid Fractring, Fracture, Hydraulic fracturing ไปแล้ว
      
 ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายห้ามการทำ Fracking, Acid Fractring, Fracture, Hydraulic fracturing และไม่มีมาตรการจัดการกับสารเคมี และผลกระทบที่จะตามมาในอีก 10 ปีข้างหน้าจากการทำ Fracking, Acid Fractring, Fracture, Hydraulic fracturing ที่ดินของประเทศไทยเป็นแหล่งอาหาร และสัดส่วนประชากรต่อที่ดินมีจำกัด การทำ Fracking, Acid Fractring, Fracture, Hydraulic fracturing เสี่ยงต่อการปนเปื้อนของสารเคมี ทั้งสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการและสารเคมีที่มีอยู่แล้วในธรรมชาติ ซึ่งจะทำให้ไทยสูญเสียแหล่งอาหารของประเทศไปอย่างไม่สามารถฟื้นคืนได้
source: http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9580000030834

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น