ขันโตก วิถีต้อนรับของชาวล้านนา
ขันโตก เป็นวัฒนธรรมในการรับประทานอาหารแบบหนึ่งของชาวภาคเหนือ
เพื่อใช้ในการต้อนรับอาคันตุกะคนสำคัญ
โดยจัดสำรับอาหารใส่ในภาชนะรองที่เรียกว่า ขันโตก หรือ โตก หรือ สะดตก
ซึ่งเป้นภาชนะที่มีใช้กันทั่วไปในภาคเหนือ ทำจากไม้หรือหวาย
นำมาแกะสลักและกลึงให้มีลักษณะกลมเหมือนถาด
มีตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ มีขายกให้สูงจากพื้นประมาณ 1 ฟุต
พร้อมทั้งตกแต่งอย่างหรูหราตามฐานะ เช่น ตกแต่งด้วยศิลปะลงรักปิดทอง
หรือแกะสลักอย่างสวยงามวิจิตร เวลารับประทานใช้ตั้งกับพื้น
หรือตั้งบนพื้นบนสาดเทิ้ม(เสื่อไผ่สาน)
ขันโตก นับเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของชาวเหนือที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา
เพื่อเป็นการเลี้ยงรับรองแขกที่มาเยือนให้รู้สุกอบอุ่น
ประทับใจถือเป็นการให้เกียรติแขกอย่างถึงที่สุด
และยังเป้นการแสดงน้ำใจของเจ้าบ้านด้วย ในปัจจุบัน
วัฒนธรรมการรับประทานขันโตกบางแห่งได้พัฒนาไปเป็นการสร้างบรรยากาศแบบงาน
เลี้ยงเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เช่น มีการตกแต่งประดับประดาอย่างสวยงาม
ให้บรรยากาศที่หรูหราผุ้คนแต่งกายด้วยชุดท้องถิ่นออกมาต้อนรับ
มีการแสดงต่างๆ มีสาวงามมาฟ้อนรำให้ชมระหว่างรับประทานอาหาร
ชนิดของขันโตกว่าไปแล้ว มาดูการแบ่งขนาดของขันโตกกันบ้าง หลักๆ
เลยก็จะมีกันถึง 3 ขนาด คือ ขันโตกหลวง หรือ สะโตกหลวง
ที่ทำด้วยไม้ขนาดใหญ่
นิยมใช้การในราชสำนักในคุ้มในวังของเจ้านายฝ่ายเหนือทั่วไป
รวมทั้งใช้ในวัดวาอารามทั่วไปด้วย
ขนาดรองลงมาก็จะเป็น ขันโตกฮาม หรือ สะโตกทะราม
เป็นขันโตกขนาดกลางประมาณ 17 – 24 นิ้ว
ใช้ไม้ขนาดกลางมาตัดและเคี่ยนหรือกลึงเหมือนขันโตกหลวง
ผู้ที่ใช้ขันโตกขนาดนี้ มักได้แก่ครอบครัวขนาดใหญ่ เช่น คหบดี
เศรษฐีผู้มีอันจะกิน หรือถ้าเป็นวัด ผู้ที่ใช้ขันโตกขนาดนี้คือ พระภิกษุ
ในระดับรองสมภาร
สุดท้ายขันโตกหน้อย เป็นขันโตกขนาดเล็ก ขนาดประมาณ 10 – 15 นิ้ว
วิธีทำมีลักษณะเช่นเดียวกับขันโตกหลวงและขันโตกฮาม ใช้ในครอบครัวเล็ก เช่น
หญิงชายพึ่งแต่งงานใหม่ หรือ ผู้ที่รับประทานคนเดียว
อาหารที่ใส่ก็มีจำนวนน้อย
สำหรับอาหารที่อยู่ในขันโตกส่วนใหญ่อาหารประกอบด้วย
ข้าวนึ่งหรือข้าวเหนียว แกงอ่อม แกงฮังเล ไส้อั่ว แคบหมู น้ำพริกอ่อง ลาบ
ผักต่างๆตลอดจนของหวานต่างๆ ซึ่งอาหารเหล่านี้จะตักใส่ถ้วยเล็กๆ
วางไว้ในขันโตกจนครบ
แล้วใช้ฝาชีครอบไว้จนกว่าพิธีแห่ขันโตกจะเสร็จการแห่ขันโตก
ขันโตกจึงนับเป้นเอกลักษณ์ของชาวไทยภาคเหนือ
ที่แสดงถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ตั้งแต่เดิมที่สืบมาจนถึงทุกวันนี้
งานประเพณีต้อนรับแขกชาวเหนือเป็นงานประเพณีที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของ
ชาวไทยภาคเหนือเป็นการอนุรักษ์วิถีชีวิตความเป็นอยู่ตั้งแต่ดั้งเดิมที่สืบ
มาจนถึงทุกวันนี้ทั้งยังเป็นการสร้างบรรยากาศ ในการต้อนรับให้อบอุ่น
และสร้างความประทับใจแก่ผู้มาเยือนยากที่จะลืมเลือน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น